วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2556

ท่าบริหารร่างกายเพื่อสุขภาพ


ท่าบริหารร่างกายเพื่อสุขภาพท่าบริหารร่างกายเพื่อสุขภาพ
     เพื่อให้การออกกำลังมีประสิทธิภาพที่ดี ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 3 ครั้ง/สัปดาห์ แต่ละครั้งประมาณ 30 นาที
ท่าที่ 1 ทำ 50 ครั้ง
1. ยืนตัวตรง
2. เหยียดแขนทั้งสองข้างไปข้างหน้าขนานกับพื้น
3. กำมือแน่นสลับกัน

ท่าที่ 2 ทำ 50 ครั้ง
1. ยืนในท่าที่ต่อจากท่าที่ 1
2. บิดข้อมือทั้งสองข้างขึ้น – ลง

ท่าที่ 3 ทำ 50 ครั้ง
1. ยืนในท่าที่ต่อจากท่าที่ 2
2. กำมือแล้วชกลมไปข้างหน้าสลับซ้าย – ขวา

ท่าที่ 4 ทำ 50 ครั้ง1. ยืนในท่าที่ต่อจากท่าที่ 3
2. กำมือแล้วชกลมไปขึ้นข้างบน – ล่าง สลับซ้าย – ขวา

ท่าที่ 5 ทำ 50 ครั้ง
1. ยืนในท่าที่ต่อจากท่าที่ 4
2. กางแขนทั้งสองออกข้างลำตัว
3. หมุนแขนไปข้างหน้าพร้อมๆกันทั้งสองข้าง 50 ครั้งแล้วหมุนไปข้างหลังอีก 50 ครั้ง

ท่าที่ 6 ทำ 50 ครั้ง
1. ยืนตัวตรง
2. ยกมือสองข้างขึ้นตบเหนือศีรษะแล้วกลับมาอยู่ท่าเดิม

ท่าที่ 7 ทำ 50 ครั้ง
1. ยืนในท่าที่ต่อจากท่าที่ 6
2. เหวี่ยงแขนทั้งสองข้างไปด้านหลัง และเหวี่ยงขึ้นตั้งตรงแนบศีรษะ ค้างไว้ 5 วินาที

ท่าที่ 8 ทำ 15 ครั้ง
1. ยืนตัวตรง
2. ก้มศีรษะลงให้คางจรดกับกลางกระดูกไหปลาร้า ค้างไว้ 5 วินาที
3. เงยหน้าไปด้านหลัง พยายามให้ปลายคางตรง ค้างไว้ 5 วินาที

ท่าที่ 9 ทำ 15 ครั้ง
1. ยืนตัวตรง
2. หันศีรษะไปทางซ้าย ค้างไว้ 5 วินาที แล้วหันกลับ
3. หันศีรษะไปทางขวา ค้างไว้ 5 วินาที แล้วหันกลับ

ท่าที่ 10 ทำ 15 ครั้ง
1. ยืนตัวตรง ยกแขนทั้งสองข้างขึ้นตั้งตรง
2. โน้มตัวไปข้างหน้าให้ลำตัวขนานพื้นค้างไว้ 5 วินาที แล้วกลับสู่ท่าเดิม
3. เอนตัวไปด้านหลังพอประมาณ แล้วกลับสู่ท่าเดิม ทำสลับกันไป – มา

ท่าที่ 11 ทำ 15 ครั้ง
1. ยืนตัวตรง
2. โน้มตัวไปข้างหน้าให้ลำตัวขนานพื้น
3. บิดลำตัวไปทางขวา จนถึงข้างลำตัว แล้วค่อยๆ ยกลำตัวขึ้นกลับสู่ท่าเดิม
4. ทำสลับ ซ้าย – ขวา

ท่าที่ 12 ทำ 50 ครั้ง
1. ยืนตัวตรง
2. ยกแขนทั้งสองข้าง ทำท่าคล้ายปีกไก่ 3. เหวี่ยงข้อศอกทั้งสองข้างออกด้านหลังแล้วกลับท่าเดิม ทำ 3 ครั้ง พอครั้งที่ 4 ให้เหวี่ยงแขนออกไปด้านหลังจนสุด นับเป็น 1 ชุด

ท่าที่ 13 ครั้ง 50 ครั้ง
1. ยืนตัวตรง เขย่งปลายเท้า
2. เหยียดแขนตรงไปข้างหน้าขนานกับพื้น ย่อตัวลง
3. ค่อยๆ ยืนขึ้นในท่าเดิม เอาส้นเท้าลงแล้วกลับสู่ท่าเดิม

ท่าที่ 14 ทำ 50 ครั้ง
1. ท่านี้ต้องใช้อุปกรณ์ช่วย เช่น โต๊ะ ทำงาน เก้าอี้ ที่รับน้ำหนักได้และไม่เลื่อน (น่าจะเพิ่มคำว่า “หรือ”) ใช้ฝาผนังก็ได้
2. ทำท่าคล้ายวิดพื้น แต่เปลี่ยนจากพื้น เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แทน

ท่าที่ 15 ทำ 50 ครั้ง
1. ยืนตรงในท่าเตรียม
2. เตะขาซ้าย พร้อมกับเหยียดแขนขวาออกมาด้านหน้า พยายามให้ปลายเท้าแตะกับปลายนิ้วมือ
3. ทำสลับซ้าย – ขวา

ท่าที่ 16 ทำ 50 ครั้ง
1. ยืนตรงในท่าเตรียม
2. ก้าวเท้าซ้ายออก
3. ย่อตัวลงขาด้านที่ก้าวออกไปพยายามให้ขนานกับพื้น ขาหลังตรงอย่างอเข่า และลำตัวตรง
4. ทำสลับซ้าย - ขวา

กิจกรรมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ




การเดิน
การเดิน หมายถึง การเดินระยะไกล เดินเร็วพอสมควร ในระยะต้นใช้เวลาประมาณ 15-30 นาที ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสมรรถภาพของแต่ละคน เมื่อร่างกายแข็งแรงแล้วจะเพิ่มเวลาให้มากขึ้นเป็นหนึ่งชั่วโมง หรือมากกว่านั้น ควรเดินออกกำลังกายตอนเช้าหรือเย็นเพราะอากาศไม่ร้อน ช่วยให้เดินได้นานขึ้น  การเดินนั้นจะเดินในทุ่งโล่ง สนามกีฬา ริมทะเล สวนสาธารณะ หรือริมถนนที่มีต้นไม้ร่มรื่นก็ได้   การเดินนั้น จะเหมาะกับผู้สูงอายุและบุคคลที่มีรูปร่างอ้วนมาก ๆ

การวิ่ง
การวิ่งเป็นการออกกำลังกายที่ดีที่สุด เพราะโดยธรรมชาติมนุษย์รู้จักการวิ่งมาตั้งแต่  ดึกคำบรรพ์ การวิ่งทำให้ร่างกายทุกส่วนได้ออกกำลัง ในระยะเริ่มต้นควรวิ่งเหยาะ ๆ (Jogging) ก่อน ใช้เวลา 5-10 นาที หากรู้สึกเหนื่อยมากควรหยุดหรือเปลี่ยนเป็นเดิน เมื่อหายเหนื่อยแล้วควรวิ่งต่อและเมื่อร่างกายแข็งแรงดีแล้วจึงเพิ่มการวิ่งให้มากขึ้น โดยเพิ่มระยะทางหรือความเร็วในการวิ่งขึ้นทีละน้อย

การว่ายน้ำ
การว่ายน้ำ เป็นการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับเด็ก ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ การออกกำลังกายด้วยการว่ายน้ำนั้น ถือว่าเป็นการออกกำลังกายที่ให้ผลเพื่อสุขภาพมากที่สุด  เพราะเนื่องจากกล้ามเนื้อทุกส่วนได้ออกกำลังกาย การว่ายน้ำควรทำอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ควรว่ายน้ำให้มีความเร็วและไกลพอควร เช่น ควรว่ายให้ได้ระยะ 300 เมตรติดต่อกัน ภายในเวลา 8 นาทีเป็นต้น การว่ายน้ำก็เช่นเดียวกับการวิ่งและเล่นกีฬาอื่น ๆ คือ ไม่ควรออกกำลังกายเต็มที่ในช่วงเริ่มต้น โดยเริ่มจากการว่ายช้า ๆ ก่อน คือว่าย 100 เมตร ช้า ๆ แล้วพักประมาณ 5 นาทีแล้วว่าย 5 เมตร พักอีก 5 นาที หายเหนื่อยแล้วว่ายครั้งสุดท้ายอีก 50  เมตร เมื่อร่างกายแข็งแรงดีแล้วค่อยเพิ่มระยะทางขึ้น

การถีบจักรยาน
การถีบจักรยาน เป็นการออกกำลังกายที่ดีเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะในท้องถิ่นซึ่งการจราจร  ไม่คับคั่งจนไม่เป็นที่ปลอดภัยแก่ผู้ใช้จักรยาน การถีบจักรยานเพื่อการออกกำลังกาย ทำได้หลายรูปแบบ เช่น อาจใช้จักรยานเดินทางท่องเที่ยวเพื่อทัศนศึกษาในวันสุดสัปดาห์หรือการใช้จักรยานเพื่อสมาชิก
ในครอบครัวไปพักผ่อนหย่อนใจในสถานที่ต่าง ๆ และการใช้จักรยานเพื่อไปซื้อของหรือจ่ายตลาดเป็นต้น
วิธีการการถีบจักรยาน เพื่อร่างกายที่แข็งแรงทำได้โดยถีบด้วยความเร็วพอควรแต่สมาเสมอหรือถีบช้า ๆ 
สลับกับถีบเร็ว ๆ เป็นช่าง ๆ ก็ได้ ระยะทางที่ใช้ควรไกลพอควร เช่นระยะแรก ๆ อาจใช้ระยะทางประมาณ 4-6
กิโลเมตรก่อน ต่อไปจึงค่อยเพิ่มระยะทางขึ้นหรือเพิ่มความเร็วขึ้นก็ได้
นอกจากถีบจักรยานไปตามถนนแล้ว ปัจจุบันมีการผลิตจักรยานชนิดอยู่กับที่  (Stationary bicycle) เพื่อใช้
ในการออกกำลังกายโดยเฉพาะ ซึ่งได้รับความนิยมมากขึ้นเช่นเดียวกัน เพราะการออกกำลังกายชนิดนี้มีข้อได้
เปรียบหลายอย่าง เช่น สามารถทำได้ในบ้านไม่ว่าจะเป็นที่ระเบียงในห้องนั่งเล่น หรือแม้แต่ห้องนอน ในที่ทำงาน
ก็สามารถถีบจักรยาน ชนิดนี้ตั้งไว้ได้ สามารถออกกำลังกายได้ทุกวัน และทุกเวลาตามต้องการ มีความสะดวก
และปลอดภัย และยังสามารถตั้งความฝืดของล้อและระยะทาง เพื่อให้หัวใจของผู้ถีบเต้นเร็วมากน้อยเพียงไรก็ตาม


การกระโดดเชือก
การกระโดดเชือก ก็นับเป็นการออกกำลังกายที่สะดวกสบายวิธีหนึ่ง และยังเป็นการประหยัด อีกด้วย ข้อสำคัญคือ
ต้องมีเชือกกระโดดที่ยาวพอดี คือเมื่อใช้เท้าทั้งสองข้างเหยียดตรงกลางเชือกและดึงให้ตึงขึ้นมาแล้ว มือจับทั้ง
สองข้างจะต้องอยู่ระดับอกพอดี และต้องมีมือจับที่ปลายเชือกขนาดกระชับมือและไม่ทำให้เชือกบิดเป็นเกลียว วิธีกระโดดไม่ต้องให้สูงมากแค่เท้าสูงพ้นเชือกก็พอแล้ว เวลากระโดดต้นแขนและข้อศอกควรแนบข้างลำตัวแกว่ง
แต่แขนส่วนปลายข้อมือเท่านั้น ไม่ใช่แกว่งไปทั้งแขนโดยใช้หัวไหล่และกางเกงออกไปมาก ๆ กระโดดบนพื้นที่
ไม่แข็งมากนัก ควรได้สวมร้องเท้าที่มีพื้นนุ่ม ๆ ด้วย และให้กระโดดด้วยปลายเท้าตรงโคนนิ้ว การเริ่มต้นใน
ครั้งแรก ๆ ค่อย ๆ ทำอย่าหักโหม เพราะอาจบาดเจ็บได้ง่าย ควรเริ่มด้วยความเร็วประมาณ 70-80 ครั้ง 
ต่อนาทีก็พอ เมื่อคล่องดีจึงเพิ่มความเร็วเป็น 100-140 ครั้งต่อนาที หากรู้สึกเหนื่อยมากก็หยุดเป็นพัก ๆ
ในระยะแรก ๆ อาจกระโดดเพียง 20-30 วินาที แล้วพัก 10-15 วินาทีแล้วค่อย ๆ เพิ่มเวลาให้มากขึ้นตามลำดับอย่างไรก็ตามการออกกำลังกายด้วยวิธีกระโดดเชือกไม่เหมาะกับผู้สูงอายุ ผู้ที่มีรูปร่างอ้วนหรือมีปัญหาเกี่ยวกับข้อเท้า  เป็นต้น
การเต้นแอโรบิค
การเต้นแอโรบิค หรือแอโรบิคดานซ์ (Aerobic dance) เป็นการออกกำลังกายที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางโดยเฉพาะในหมู่สตรีที่นิยมเต้นเข้าจังหวะดนตรี เป็นวิธีลดความอ้วนหรือควบคุมน้ำหนักตัวได้ดีวิธีหนึ่ง ข้อดีของวิธีการเต้นแอโรบิคอีกประการหนึ่ง ก็คือจะมีการเคลื่อนไหวของร่างกายทุกส่วน และสามารถเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ข้างหลังและข้าง ๆ ซึ่งการวิ่ง  และเดินไม่สามารถทำได้โดยเฉพาะ   การเคลื่อนไหวทางข้าง ข้อสำคัญของการเต้นแอโรบิคคืออย่าให้หนักเกินไป  การเต้นแต่ละครั้งอย่าให้เกิน 30 นาที และควรเต้นเพียงสัปดาห์ละ 3 วัน หรือเพียงวันเว้นวันพอแล้ว ควรแบ่งขั้นตอนการปฏิบัติออกเป็น 3 ขั้นตอน  เช่นเดียวกับการเล่นกีฬาอย่างอื่น คือขั้นอบอุ่นร่างกายเพื่อเตรียมความพร้อมของ ส่วนต่าง ใช้เวลาในขั้นนี้ประมาณ 5-8 นาที ต่อมาเป็นขั้นแอโรบิคซึ่งใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที และ  ขั้นผ่อนคลายซึ่งเป็นการปรับสภาพร่างกายให้กับสู่สภาวะปกติ หลังจากที่กล้ามเนื้อได้ทำงานมามากแล้ว ขั้นนี้ใช้เวลาพอ ๆ กับขั้นอบอุ่นร่างกาย

การเล่นกีฬา
กีฬา เป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งที่มนุษย์คิดขึ้นเพื่อเป็นสื่อในการออกกำลังกาย ซึ่งมีทั้งกีฬาประเภทบุคคลและกีฬา ประเภททีม  และประเภทที่เล่นกันในที่ร่มและเล่นกันกลางแจ้งซึ่งผู้เล่นสามารถที่  จะเลือกกีฬาเพื่อเป็นการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพตามีที่ตนเองถนัดและสนใจ กีฬา บางชนิดเล่นกัน  โดยไม่มีการปะทะ ได้แก่กีฬาที่ใช้ตาข่ายกั้นกลาง เช่น แบดมินตัน เทนนิส เทเบิล  เทนนิส ตระกร้อ วอลเลย์บอล เป็นต้น ซึ่งเหมาะแก่การออกกำลัง นอกจากนี้ก็เป็นกีฬาที่มีการปะทะ เช่นฟุตบอล บาสเกตบอล  และแฮนด์บอล เป็นต้น ซึ่งถ้าจะเล่นเพื่อเป็นการออกกำลังกายก็ไม่ควรเล่นหลักโหม และไม่เป็นการแข่งขันเอาจริงเอาจังเกินไป  ควรเล่นเพื่อให้เกิดความสนุกมากกว่า และอาจจะดัดแปลงกติกาการเล่นย่อขนาดสนามหรือเพิ่มจำนวนผู้เล่นแล้วแต่กรณี ข้อสำคัญก็คือหากเล่นแล้วรู้สึกเหนื่อยมาก  ควรพักผ่อนเสียก่อน หายเหนื่อยแล้วจึงค่อยเล่นต่อตามสมรรถภาพร่างกายของแต่ละคน


ประเภทของการออกกำลังกาย


การออกกำลังกาย แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ


1. แอนาแอโรบิค Anaerobic คือ การออกกำลังกายแบบไม่ใช้ออกซิเจนช่วยในการเผาผลาญ พลังงาน เป็นการระเบิดพลังงานในเวลาสั้นๆ เช่น การเล่นเวทหรือ ยกน้ำหนัก (Weight Training) กล้ามเนื้อที่ได้จากการออกกำลังกายประเภทนี้จะเป็นมัดกล้ามเนื้อขาว ซึ่งจะระเบิดพลังงานสูงสุดในระยะเวลาสั้นๆ พลังงานที่เผาผลาญไม่ใช่ไขมัน แต่จะเป็นพลังงานสะสมที่ร่างกายเก็บไว้ที่กล้ามเนื้อและตับ (Glycogen-ไกลโคเจน) ในระยะยาวกล้ามเนื้อที่ใหญ่ ขึ้นจากการออกกำลังกายแบบ (Weight Training) จะช่วยเผาผลาญพลังงานได้เป็นอย่างดี แม้ขณะนั่งอยู่เฉยๆหรือนอนหลับ

ประเภทของการออกกำลังกาย

2. แอโรบิค Aerobic, คาร์ดิโอ Cardio คือ การออกกำลังกายแบบใช้ออกซิเจนช่วยใน การเผาผลาญไขมันไปใช้เป็นพลังงาน เป็นการออกกำลังกายแบบค่อยเป็นค่อยไป มีความต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 25 นาที เช่น วิ่ง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน เต้นแอโรบิค กล้ามเนื้อที่ได้จากการออกกำลังกายประเภทนี้ คือ มัดกล้ามเนื้อแดง ซึ่งจะเน้นความทนทาน
การออกกำลังกายเพื่อเผาผลาญไขมันส่วนเกิน
หากเราต้องการเผาผลาญไขมันส่วนเกิน จะต้องออกกำลังกายแบบแอโรบิค (Aerobic), คาร์ดิโอ (Cardio) เช่น การ วิ่ง,ว่ายน้ำ,ปั่นจักรยาน ต่อเนื่องอย่างน้อย 30 นาที ขึ้นไป เพราะในนาทีที่ 1-25 ร่างกายจะเผาผลาญพลังงานสะสมที่กล้ามเนื้อและตับ (ไกลโคเจน) หลังจากนาทีที่ 25 ร่างกายจะเริ่มนำไขมันมาเผาผลาญ การออกกำลังกายวันละ 10-15 นาที ไม่ช่วยเผาผลาญไขมัน หลายคนจึงเกิดการท้อแท้ เพราะออกกำลังกายไม่ถึง 30 นาที แล้วกลับไปรับประทานอาหารอย่างเต็มที่ โดยคิดว่าได้ลดไขมันไปบ้างแล้ว

ประโยชน์ของการออกกำลังกาย





การออกกำลังกายเป็นสิ่งจำเป็นต่อสุขภาพ  เนื่องจาก
1. ช่วยให้ระบบไหลเวียนของเลือดดีขึ้นโดยทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆได้มากขึ้น ป้องกันโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตต่ำ มีภูมิต้านทานโรคดีขึ้น และป้องกันโรคต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน  โรคอ้วน โรคข้อเสื่อม
2. ช่วยในการควบคุมน้ำหนักตัว ทำให้ทรงตัวดีขึ้น และทำให้เคลื่อนไหวคล่องแคล่วขึ้น
3. ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดีขึ้น
4. ช่วยลดความเครียด และทำให้การนอนหลับพักผ่อนดีขึ้น
       
        ในการออกกำลังกายทุกครั้ง  ควรประเมินความเหมาะสม  และความสามารถก่อน โดยเฉพาะผู้ที่มี  โรคประจำตัว  เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ ควรปรึกษาแพทย์ว่าควรออกกำลังกายประเภทใด  และมากน้อยเพียงใด  การเริ่มออกกำลังกายนั้น  ควรเริ่มจากการศึกษาหลักการให้ถูกต้องก่อน  แล้วค่อย ๆ เริ่ม  ไม่ควรหักโหมมาก  ในครั้งแรก ๆ  เพื่อเป็นการปรับสภาพร่างกายก่อน  การออกกำลังกายที่ดีนั้น   ควรเป็นการออกกำลังกายที่ต่อเนื่อง    ไม่ใช่หักโหมทำเป็นครั้งคราว   ควรเริ่มจากการอุ่นร่างกาย (ประมาณ 5-10 นาที)  ออกกำลังกาย (15-20 นาที)  และจบด้วยการผ่อนคลาย  (5-10 นาที) ทุกครั้ง ในการออกำลังกายทุกครั้งไม่ควรกลั้นหายใจ หรือสูดลมหายใจอย่างแรง ควรหายใจเข้าและออกยาว ๆ เพื่อช่วยระบบการหายใจของร่างกาย การออกกำลังกายที่เหมาะสมของผู้สูงอายุนั้นขึ้นอยู่กับสภาพของร่างกายของแต่ละคน


ประโยชน์ของการออกกำลังกาย

ในปัจจุบันวิทยาทางการแพทย์มีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้น  สามารถป้องกันและรักษาโรคต่าง ๆ ได้มากมาย ดังนั้นสาเหตุส่วนใหญ่ของการเสียชีวิต จะมาจากโรคที่ไม่ติดเชื้อ และจากพฤติกรรมของมนุษย์ เช่น การสูบบุหรี่  การดื่มสุรา  ยาเสพติด  ฯลฯ   ซึ่งโรคต่าง ๆ   เหล่านี้เราสามารถป้องกันได้หรือทำให้ทุเลาลงได้ โดยการออกกำลังกาย ควบคุมอาหาร และมีพฤติกรรมในการดำรงชีวิตที่เหมาะสม
การป้องกันเสริมสร้างสุขภาพ เป็นวิธีการที่ได้ผล และประหยัดที่สุด สำหรับการมีสุขภาพที่ดี ดังนั้นการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพจึงมีประโยชน์  ดังนี้
1. ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน  สมรรถภาพการทำงานของหัวใจจะดีขึ้นมาก  ถ้าออกกำลังกายอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอติดต่อกัน 3 เดือน  ชีพจรหรือหัวใจจะเต้นช้าลง ซึ่งจะเป็นการประหยัดการทำงานของหัวใจ
2. ลดไขมันในเลือด เพราะไขมันในเลือดสูงเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน
3. เพิ่ม  High  Density  Lipoprotein  Cholesterol (HDL-C)   ในเลือด  ซึ่งถ้ายิ่งสูงจะยิ่งดีจะช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน
4. ลดความอ้วน (ไขมัน)  เพิ่มกล้ามเนื้อ (น้ำหนักอาจไม่ลด)
5. ป้องกัน และรักษาโรคเบาหวาน
6. ช่วยลดความดันโลหิต (สำหรับผู้มีความดันโลหิตสูง) ลดได้ประมาณ 10-15 ม.ม. ปรอท
7. ช่วยทำให้หัวใจ  ปอด  ระบบหมุนเวียนของโลหิต  กล้ามเนื้อ  เอ็น เอ็นข้อต่อ  กระดูกและผิวหนังแข็งแรงยิ่งขึ้น ช่วยลดความเครียด ทำให้นอนหลับดียิ่งขึ้น ความจำดี  เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ชะลออายุ ช่วยป้องกันอาการปวดหลัง (เพราะกล้ามเนื้อหลังแข็งแรงขึ้น)
8. ป้องกันโรคกระดุกเปราะ โดยเฉพาะสุภาพสตรีวัยหมดประจำเดือน
9. ร่างกายเปลี่ยนไขมันมาเป็นพลังงานได้ดีกว่าเดิม ซึ่งเป็นการประหยัดการใช้แป้ง (glycogen) ซึ่งมีอยู่น้อย และเป็นการป้องกันโรคหัวใจ
10. ช่วยป้องกันโรคมะเร็งบางชนิด เชื่อ ลำไส้ใหญ่ เต้านม ต่อมลูกหมาก
11. ทำให้มีสุขภาพดี ประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาโรค
ที่มา : คู่มือการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพสำหรับประชาชน : โดย กาญจนศรี สิงห์ภู่  งานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลศรีนครินทร์

วัตถุประสงค์ของการออกกำลังกาย

วัตถุประสงค์ของการออกกำลัง 
จัดและรวบรวมโดย อ.พีรศักดิ์ วิลัยรัตน์



การออกกำลังกาย เป็นสิ่งที่ดีต่อร่างกายและสุขภาพ แต่หลาย ๆ คนก็ยังมีวัตถุประสงค์ในการออกกำลังกายแตกต่างกันไป

จากการรวบรวมข้อมูล ในการวิจัย พบวัตถุประสงค์ของการออกกำลัง มีสาเหตุของการออกกำลังกาย แยกได้ เป็นลำดับดังต่อไปนี้
•ต้องการให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง 34 %
•ต้องการลดน้ำหนักและไขมันส่วนเกิน 18.9 %
•เพื่อนและคนรอบข้างชักชวน 17.4 %
•ต้องการฝึกทักษะกีฬา 12.4 %
•เป็นที่พบประและสังสรรค์กับเพื่อน 8.1 %
•ต้องการรักษาโรค หรือบำบัดร่างกาย 4.6 %
•ต้องการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ 3.5 %
•เป็น Fashion และตามกระแส 0.8 %
•ต้องการให้ผิวพรรณ 0.4 %

หากลองตรวจสอบข้อดี หรือประโยชน์ของการออกกำลังกาย เป็นข้อ ๆ หลายคนคงคิดอยากมีเวลาให้กับการออกกำลังกายเป็นแน่แท้

ข้อดี หรือประโยชน์ของการออกกำลังกาย
1.หัวใจ ปอดและหลอดเลือดทำงานดีขึ้น ระบบการหายใจมีความลึกและอัตราการหายใจเพิ่มขึ้นเนื่องจากการกระตุ้นศูนย์ควบคุมการหายใจในระบบประสาทส่วนกลาง เพิ่มการแลกเปลี่ยนก๊าซ มีเลือดไปสู่ปอดมากขึ้น ทำให้สมรรถนะการแพร่เพิ่มขึ้น
2.กล้ามเนื้อแข็งแรงและทนทานขึ้น กล้ามเนื้อออกแรงซ้ำ ๆ อย่างต่อเนื่องกันหลาย ๆ ครั้ง จะทำให้กล้ามเนื้อมีความทนทานขึ้น
3.กระดูกแข็งแรงขึ้น เมื่อออกกำลังกาย ร่างกายจะเก็บแคลเซียมและแร่ธาตุอื่น ๆ ที่สำคัญต่อกระดูกไว้
4.มีรูปร่างและหุ่นดีขึ้น คือจะไม่อ้วนไม่ผอมเกินไป มีกล้ามเนื้อที่กระชับ ทรวดทรงได้สัดส่วน
5.พลังทางเพศดีขึ้น มีฮอร์โมนทางเพศหลั้งออกมามากขึ้น
6.เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของไต กระตุ้นการขับของเสียออกจากร่างกาย
7.ชะลอความเสื่อมของอวัยวะ จากการที่ระบบไหลเวียนเลือดดีมีผลให้เซลล์ในร่างกายได้รับอาหารมากขึ้น ประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้น
8.นอนหลับได้ดีขึ้น เนื่องจากการออกกำลังกายมีการใช้พลังงานมาก ร่างกายจึงต้องการพักผ่อน
9.สุขภาพจิตดี คลายเครียด ลดความวิตกกังวล เพราะการออกกำลังกายเป็นนันทนาการประเภทหนึ่ง
10.ประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาสุขภาพ ที่ต้องไปพบแพทย์บ่อย ๆ